ผู้เขียน หัวข้อ: กฏหมายข้างหมอน ep1  (อ่าน 2794 ครั้ง)

neminem

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 39
  • People Like This 6
กฏหมายข้างหมอน ep1
« เมื่อ: มิถุนายน 19, 2022, 01:16:41 AM »
มาตรา

   เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชาย หรือ ภายในสามร้อยสิบวัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือ เคยเป็นสามี แล้วแต่กรณี

   อ่านเร็วๆแล้วงง เพราะมี 2 ประโยค ซ้อนกันอยู่ (ภาษากฏหมายก็งี้แหละ ทำใจครับ)

ประโยคแรก ...

   เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชาย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี

 จะเห็นว่า ประโยคแรกนั้น เบสิกๆ แปลตรงตัว กฏหมายท่านว่างั้น

ประโยคที่สอง ...

   เด็กเกิดแต่หญิงภายในสามร้อยสิบวัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เคยเป็นสามี

    ประโยคสองเข้าใจยากหน่อย กฏหมายใช้หลัก 310 วัน ถ้า เดือนมี 30 วัน 310 วัน ก็คือ 10.33 เดือน

   นั่นแปลว่า ถ้าเด้งดึ๋งๆกันหลังมื้อเช้า สายๆอำเภอเปิดทำการจูงมือกันจดทะเบียนหย่า กฏหมายท่านอนุมานว่า ไม่มีทางที่การเด้งดึ๋งหลังมือเช้านั่นจะส่งผลลัพท์ออกมาช้ากว่า 10.33 เดือน

แล้วมันมีผลอะไรล่ะ ...

   กฏหมายท่านว่า เด็กเกิดจากหญิงใด ก็ให้ถือว่าเด็กเป็นลูกของหญิงนั้น ... กำปั้นทุบดิน แต่ก็เข้าใจได้

   ทีนี้ที่ปวดไข่ดัน คือ ความเป็น พ่อ นี่ซิ ถ้าเอาตามประโยคแรก มันก็ไม่ต้องตีความอะไรให้เมื่อยตุ้ม

   แต่ถ้าหย่าแล้ว อดีตภรรยาขอฉลองโสดไปแซ่บ หรือ เกิดใจอ่อนกลับมาเด้งดึ๋งกับอดีตฝาละมีที่เพิ่งหย่าไปหมาดๆ ลูกที่ออกมาจะเอาไงดี

   กฏหมายท่านรู้สันดานมนุษย์ ท่านมีทางออกให้ครับ

   ดังนั้น กฏหมายจึงต้องมีการจดทะเบียนรับรองบุตร พ่อเจ้าประคุณจะกลับใจขอจดทะเบียนรับรองบุตรได้ กรณีไหนได้ กรณีไหนไม่ได้ และ ต้องมีเงื่อนไขอะไรบ้าง ...

ชักยาว ขอไปต่อ EP2